1. ไม่คาดหวังความสมบูรณ์แบบจากลูก
เราควรสอนให้เขามีความพยายาม และทำทุกอย่างด้วยความสามารถอย่างดีที่สุด
แต่ไม่จำเป็นต้องสมบูรณ์แบบ เราล้มเหลวได้ ผิดพลาดได้ สิ่งเหล่านี้ จะช่วยให้พวกเขาได้เรียนรู้
ที่จะรับมือกับอุปสรรคในชีวิตได้ดีกว่า และมีความสุขกว่าเด็กที่พยายามทำทุกอย่างให้สมบูรณ์แบบ
2. รับผิดชอบต่อความรู้สึกของลูก
พ่อแม่จำนวนมาก อยากให้ลูกมีความสุข ก็จะพยายามสร้างความสุขให้ลูก ด้วยวิธีการต่างๆ นานา
แต่ในโลกของความเป็นจริงแล้ว ความสุขหรือความทุกข์นั้น เป็นความรับผิดชอบของบุคคลนั้นๆ
ดังนั้น เราควรที่จะสอนให้ลูกมีความสามารถ ในการจัดการอารมณ์ของตัวเอง
และให้พวกเขาเรียนรู้ว่า ความรู้สึกของเราเกิดจากตัวของเราเอง ไม่ได้ขึ้นอยู่กับคนอื่นแต่อย่างใด
3. ไม่เอาความรู้สึกผิด มากำหนดการตัดสินใจที่ถูกต้อง
การที่เราสอนให้เขาเป็นคนที่มีจิตใจดี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่นั้นเป็นสิ่งที่ดี แต่ก็ไม่ควรมากเกินไป
จนลืมความผิดชอบชั่วดี ยกตัวอย่างเช่น ที่โรงเรียนอาจจะมีเพื่อนที่ไม่ได้อ่านหนังสือมาเพื่อมาสอบ
และขอลอกข้อสอบ ด้วยความรู้สึกผิดของเด็กว่า เพื่อไม่ให้โดนครูทำโทษหรือสอบตก
เด็กอาจจะยอมทำผิดเพื่อให้เพื่อนลอกข้อสอบ ซึ่งมันก็ไม่ใช่เรื่องที่ถูกต้องนั่นเอง
4. อย่าให้ความกลัว มีผลต่อการตัดสินใจ
พ่อแม่มีหน้าที่ต้องปกป้องลูกจากอันตรายใดๆ ทั้งปวง แต่เราควรให้เด็กได้เรียนรู้ที่จะรับมือ
กับความกลัวต่างๆ ด้วย สอนถึงอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น สอนให้เข้าใจถึงความรู้สึกกลัวและรับรู้มัน
ฝึกให้เขาได้รู้จักเผชิญหน้ากับความกลัว อย่าให้ความกลัวมามีผลกับการตัดสินใจในชีวิต
5. ฝึกให้เขามีความรับผิดชอบ
ความรับผิดชอบ เป็นอุปนิสัยที่สำคัญต่อการดำเนินชีวิตให้ประสบความสำเร็จ ดังนั้น เราควรฝึกให้ลูก
มีความรับผิดชอบในกิจกรรม หรือหน้าที่ของตัวเองตั้งแต่เล็กๆ เช่น การต้องแปรงฟันก่อนเข้านอน การทำการบ้าน
6. ปกป้องลูกจากความผิดหวัง ความเจ็บปวด
ความผิดหวัง ความทุกข์ เป็นเรื่องปกติที่มนุษย์ทุกคนจะต้องเจอ แน่นอนว่าคนเป็นพ่อแม่
ไม่อยากเห็นลูกของตัวเองต้องผิดหวัง และเจ็บปวดหรอก หลายคนพยายามปกป้องลูกของตัวเองจากความรู้สึกนี้
ซึ่งไม่เป็นผลดีในระยะยาวของเด็กเลย วิธีที่เหมาะสมคือฝึกให้ลูกได้เผชิญความผิดหวัง แต่อยู่ข้างๆ พวกเขา
คอยแนะนำ และให้กำลังใจ ในการจัดการกับความรู้สึก และปัญหาที่เกิดขึ้นข้างๆ เขานั่นเอง
7. อย่าให้ลูกเป็นจุดศูนย์กลางของจักรวาล
การตามใจเขาทุกอย่าง ยิ่งถ้าบ้านนั้นๆ มีลูกเพียงคนเดียว เด็กคนนั้นก็มักจะได้ความรัก ความใส่ใจจากทุกคนรอบตัว
เป็นผู้รับโดยลืมที่จะเรียนรู้เป็นผู้ให้ ซึ่งจะมีผลอย่างมากเมื่อพวกเขาโตขึ้นมา เมื่อโลกไม่ได้เหมือนที่บ้านอีกต่อไป
การฝึกให้ลูกรู้จักเป็นผู้ให้บ้าง รู้จักที่จะสร้างประโยชน์ให้กับคนอื่น ก็ถือเป็นสิ่งที่ดีมากๆ
8. ให้อำนาจพวกเขาในการตัดสินใจอย่างเหมาะสม
การฝึกให้เด็กกล้าที่จะตัดสินใจ โดยการฝึกให้ได้มีโอกาสในการตัดสินใจในสถานการณ์ต่างๆ
จะช่วยให้พวกเขามีความมั่นใจ แต่อย่างไรก็ตาม ก็ควรให้พวกเขาได้รับรู้ถึงหน้าที่
และบทบาทของคนในบ้านด้วย เช่น พ่อ แม่ พี่ หรือญาติผู้ใหญ่ ที่เขาควรจะแสดงความนับถือ
9. ฝึกให้เขาได้เรียนรู้จากความผิดพลาด
ความที่เรารักลูก เราอยากมั่นใจว่าทุกสิ่งที่ลูกทำจะไม่ผิดพลาด เช่น พยายามตรวจการบ้าน เช็คกระเป๋านักเรียน
ว่าลูกเอาทุกอย่างไปโรงเรียนครบมั้ย แต่เราควรฝึกให้พวกเขาได้เรียนรู้จากความผิดพลาดบ้าง
เพื่อให้เขาได้พัฒนา และเรียนรู้วิธีการในการจัดการกับปัญหา ได้ด้วยตัวของพวกเขาเอง
10. ฝึกให้ลูกมีวินัย แต่ไม่กลัวต่อการถูกลงโทษ
การลงโทษ คือการที่เราทำโทษเขา เมื่อพวกเขาทำผิด แต่การฝึกความมีระเบียบวินัย
คือฝึกให้พวกเขาสร้างอุปนิสัยที่ดี ที่จะมีผลต่อความสำเร็จของพวกเขาเองในอนาคต การฝึกให้เด็กมีระเบียบวินัย
อาจทำได้โดยให้พวกเขาได้เรียนรู้ถึงผลกระทบ จากการที่ไม่ทำอะไรบางสิ่งบางอย่าง ซึ่งไม่ใช่การลงโทษ
การที่พวกเขารู้ถึงผลที่จะเกิดขึ้น ว่าเป็นผลดีหรือผลเสียกับชีวิตของพวกเขาได้ด้วยตัวของพวกเขาเอง
11. สอนให้สามารถจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นได้อย่างสร้างสรรค์
ในชีวิตคนเรา หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องเจอเรื่องราวที่ไม่เป็นอย่างที่เราคาดหวังไว้ ทุกคนล้วนเจอเรื่องราวเหล่านี้
มาตั้งแต่เป็นเด็ก ไม่ว่าจะสอบตก อกหัก หรือแม้แต่ล้มลงเมื่อกำลังหัดเดินตอนเล็กๆ พ่อกับแม่สามารถฝึก
ความเข้มแข็งทางจิตใจของลูกๆ ได้ โดยการไม่เข้าข้างลูก และโทษสิ่งแวดล้อมภายนอก
แต่สอนให้พวกเขาเรียนรู้จากข้อผิดพลาด และหาทางจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างสร้างสรรค์ได้นั่นเอง
12. อย่าหาทางลัดให้กับลูกๆ
บางครั้งเวลาที่เราเห็นลูกทำอะไรช้า เราก็อยากที่จะช่วยเพื่อให้เร็วขึ้นและดีขึ้น แต่เราควรปล่อยให้พวกเขาได้ทำเอง
ได้ฝ่าฟันอุปสรรค และเรียนรู้การลงมือทำอะไรบางอย่างให้สำเร็จด้วยตัวเอง ตั้งแต่เริ่มต้นจนจบ
13. สอนให้ลูกรู้จักคุณค่าที่แท้จริงของการมีชีวิต
มนุษย์เรามักจะตัดสินใจกับเรื่องสำคัญต่างๆ ของชีวิต ด้วยคุณค่า ซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า
เราจึงควรสอนให้ลูกของเรา มองเห็นคุณค่าในตัวเอง และเรียนรู้ที่จะรักษาคุณค่านั้นๆ เอาไว้
ที่มา : t h e w a y o f l i f e