14 วิธี เพิ่มเงินในกระเป๋า ด้วยการอุดรูรายจ่ายที่ไหลออก

14 วิธี เพิ่มเงินในกระเป๋า ด้วยการอุดรูรายจ่ายที่ไหลออก

ใครๆ ก็อยากมีเงินเหลือ แต่พอถึงขั้นลงมือปฏิบัติในชีวิตประจำวัน บางครั้งรู้ตัวอีกทีก็เผลอใช้เงินจนเหลือเงินเก็บนิดเดียว

เพื่อสร้างความมั่นคงให้กับชีวิต มีเทคนิคอะไรที่ทำได้ในชีวิตประจำวันกันบ้าง 14 วิธีเก็บเงินดีๆ ที่คุณควรเริ่มทำตั้งแต่วันนี้

1. ตั้งต้นด้วยเงินออม

หลายคนคิดว่า เงินเก็บหรือเงินออม คือเงินที่เหลือจากการใช้จ่าย รายได้ – รายจ่าย = เงินออม ซึ่งถูกต้อง แต่ไม่ใช่แนวคิดตั้งต้นที่ดี

สำหรับคนที่อยากเก็บเงินให้ได้อย่างมีวินัย เราไม่ควรมองเงินออมเป็นเงินเหลือ แต่ควรมองเป็นเงินที่ถูก “จัดหมวดหมู่”

เอาไว้ว่านี่คือเงินออมโดยเฉพาะ เราควรหักเงินออมเก็บเอาไว้ก่อน แล้วค่อยใช้จ่ายตามงบประมาณที่มีนั่นเอง

2. งบประมาณควรแบ่งประเภท และลำดับความสำคัญ

จากข้อที่แล้วจะช่วยให้เราเห็นงบประมาณรายจ่ายทั้งหมด หลังหักเงินออมที่คาดหวัง ทั้งนี้เมื่อลงมือจริง

หลายครั้งก็จ่ายไม่ได้จริงตามที่ตั้งใจ เพราะมักจะจ่ายให้กับ ‘สิ่งที่ไม่สำคัญแต่เกิดขึ้นก่อน’ เช่น

จ่ายให้กับค่าอาหารที่อยากทานในแต่ละวันก่อน จนลืมคิดไปว่ามีส่วนที่สำคัญ

ที่จะตามมาในช่วงปลายเดือน เช่น ค่าเช่าบ้าน ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าผ่อนสินค้า เป็นต้น

3. จดบันทึกให้เป็นนิสัย

จากผลสำรวจของบริษัท Y o u G o v ในปี 2558 ผลการสำรวจนี้พบว่าคนไทยมี “ค่าใช้จ่ายปริศนา” สูงถึง 72% ของรายจ่ายทั้งหมด

ซึ่งสรุปได้ว่า คนไทยหนึ่งคนมีค่าใช้จ่ายเฉลี่ยต่อสัปดาห์อยู่ที่ 1,588 บาท นั่นหมายความว่า ค่าใช้จ่ายปริศนาที่ระบุไม่ได้ว่าจ่ายไปกับอะไร

จะอยู่ที่ประมาณ 1,143 บาท ซึ่งผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เชื่อว่า ค่าใช้จ่ายดังกล่าวน่าจะมาจากค่าอาหาร สินค้าอุปโภคบริโภค

ค่าขนมขบเคี้ยว หรือการซื้อสินค้าฟุ่มเฟือย ค่าใช้จ่ายรั่วไหลกับอะไรไม่รู้ ปัญหานี้แก้ไขได้ด้วยการจดบันทึกรายรับรายจ่ายให้เป็นนิสัย

ปัจจุบันมีแอปพลิเคชั่นรายรับรายจ่ายมากมาย ทั้ง i O S และ A n d r o i d ให้คุณได้เลือกลองใช้

4. ค่าอาหาร รายจ่ายประจำที่ลดได้

จากข้อมูลในข้อที่แล้ว ซึ่งพบว่าค่าอาหารเป็นหนึ่งในค่าใช้จ่ายก้อนใหญ่ที่สุดก้อนหนึ่งในชีวิตประจำวัน วิธีหนึ่งที่จะลดรูรายจ่ายก็คือ

การประหยัดค่าใช้จ่ายก้อนนี้ให้มากขึ้น สำหรับการลดรายจ่ายค่าอาหารมีเกร็ดเล็กเกร็ดน้อย เช่น ทำอาหารทานเอง

จะประหยัดค่าใช้จ่ายกว่าซื้อทาน โดยเฉพาะถ้าเป็นครอบครัวหลายคน ราคาต่อหัวก็จะประหยัดมากขึ้น

5. ลดรายจ่ายเรื่องเสื้อผ้า

เปลี่ยนสิ่งที่ไม่ใช้แล้วเป็นเงินเข้ากระเป๋า รวมไปถึงเสื้อผ้าที่กำลังล้นตู้อยู่ หลายคนมีเสื้อผ้าเยอะมาก

แต่ใส่ไปไม่ถึง 50 เปอร์เซ็นต์ ของทั้งหมด แนะนำว่าให้ตัดใจแล้วนำไปขายต่อ

6. อย่าซื้อเสื้อผ้าราคาถูก

อีกจุดสำคัญที่ช่วยอุดรอยรั่วจากรายจ่ายในการซื้อเสื้อผ้า ก็คือการเลือกเสื้อผ้าที่ใช้วัสดุคุณภาพดี เพราะเมื่อคุณซื้อเสื้อผ้าราคาถูก

ที่เนื้อผ้าไม่ดี หรือการตัดเย็บไม่ดี จะทำให้เสื้อผ้าเหล่านั้นเสื่อมสภาพเร็วหลังจากซักไปเพียงไม่กี่ครั้ง

7. อย่าบ้าสะสม

ของสะสมเป็นของที่มีคุณค่าทางจิตใจ แต่อย่างไรก็ตาม ใครที่เป็นนักสะสมก็มักจะเต็มไปด้วยรายจ่ายที่รั่วไหล

ถ้าคุณไม่หยุดตัวเองเลย เมื่อมองย้อนกลับมาอีกทีอาจพบว่า มีของสะสมอยู่เต็มบ้านไปหมด แต่เงินในบัญชีกลับว่างเปล่า

8. เลือกบัญชีธนาคารดอกเบี้ยดีๆ

เพื่อสร้างผลตอบแทนเพิ่มขึ้นจากการฝากเงินทั่วไป ให้เลือกฝากเงินกับธนาคารที่ให้ดอกเบี้ยสูงที่สุด

9. อย่ามีเฉพาะออมทรัพย์

ลองฝากประจำ หรือลงทุนแบบหักอัตโนมัติ เพื่อสร้างวินัยการออม จะได้ไม่ต้องกังวลว่าเดือนนี้ได้ออมเงิน

หรือฝากเงินเข้าธนาคารแล้วหรือยัง ซึ่งวิธีนี้ง่ายต่อการไปถึงเป้าหมายการออมที่วางไว้ด้วย

10. ยกเลิกการเป็นสมาชิกที่ไม่ได้ใช้

อย่างฟิตเนสที่สมัครไว้เพราะอยากหุ่นดี อย่าลืมว่าคุณสามารถต่ออายุ

การเป็นสมาชิกในภายหลังได้ ถ้าไม่ได้ไปจริงๆ ก็ยกเลิกไปก่อนก็ได้

11. ลงทะเบียนรับสิทธิพิเศษ

ร้านค้าหลายร้าน มักมีสิทธิพิเศษให้เมื่อเราไปช้อปปิ้ง ก็ขออย่าละเลยสิทธิพวกนี้

เพราะบางทีคุณอาจได้รับเช็คของขวัญ บัตรกำนัลดีๆ ที่ทำให้ประหยัดเงินไปได้อีกเยอะเลย

12. ซื้อเครื่องใช้ไฟฟ้าที่มีคุณภาพ

เป็นสิ่งของชิ้นใหญ่ที่ควรลงทุนเพื่อความสะดวกสบาย และควรตระหนักถึง

การประหยัดพลังงานด้วย เพราะการประหยัดค่าไฟ ก็ช่วยคืนเงินในกระเป๋าได้

13. หยุดใช้บัตรเครดิต ‘จ่ายล่วงหน้าโดยที่ยังไม่มีความจำเป็น’

เพราะความสะดวกของบัตรเครดิต อาจทำให้ใช้เกินงบประมาณที่ตั้งไว้ จนทำให้เก็บเงินได้ไม่ถึงเป้าหมาย เทคนิคง่ายๆ

ในการยับยั้งชั่งใจ ให้เขียนข้อความเตือนตัวเองบนกระดาษเล็กๆ แปะบนบัตรเครดิตเอาไว้เลย เป็นข้อความเตือนใจให้คิดก่อนซื้อ

14. สนุกกับความบันเทิงง่ายๆ

การไปเที่ยวตามห้างสรรพสินค้าหรือเที่ยวข้างนอก จะทำให้พบกับสิ่งล่อตาล่อใจมากมาย จนจ่ายเงินไปในจำนวนมากกว่าที่ตั้งใจเอาไว้

ลองมีสักวันที่คุณสร้างความสุข และความบันเทิงง่ายๆ ได้ที่บ้าน อย่างฟังเพลง ดูโทรทัศน์ อ่านหนังสือ เป็นอีกเทคนิคเล็กๆ น้อยๆ

ในการลดรายจ่ายเรื่องความบันเทิง และควรตั้งเป้าหมายในการออมระยะสั้น เช่น ออมให้ได้ 300 บาท หรือมากกว่านั้นต่อสัปดาห์

จะทำให้ไม่รู้สึกหนักเกินไป และมีกำลังใจในการเก็บเงิน อีกเรื่องคือควรวางแผนการเกษียณให้เร็วที่สุด อย่าเพียงแค่ทำงานไปวันๆ

ทางที่ดีให้ลงทุนในกองทุนเอาไว้บ้างเพื่ออนาคต สิ่งที่สำคัญคือการ “ไม่เครียด” เพราะเวลาที่เครียดจะทำให้คุณใช้เงินเยอะขึ้น

แบบไม่รู้ตัว เพื่อซื้อความสุขชั่วคราว ลองทำแบบค่อยเป็นค่อยไป แล้วคุณจะพบว่าตัวเองมีเงินเหลือเยอะขึ้นอย่างแน่นอน

ขอบคุณ : m e o k a y n a