1. ไม่สนับสนุนความคิดว่า เราเป็นเหยื่อ
ในชีวิตของมนุษย์ทุกคน หลีกเลี่ยงไม่ได้ ที่จะต้องเจอเรื่องราวที่ไม่เป็นอย่างที่คาดหวังไว้
ทุกคนสามารถเจอเรื่องราวนี้ตั้งแต่เป็นเด็ก ไม่ว่าจะเป็นการสอบตก การอกหัก หรือแม้แต่เด็กเล็ก ๆ
ที่ล้มลง เมื่อพวกเขากำลังหัดเดิน พ่อกับแม่สามารถฝึกความเข้มแข็งทางจิตใจของลูก ๆ ได้
โดยการไม่เข้าข้างลูก และโทษสิ่งแวดล้อมภายนอก เปรียบเสมือนพวกเขากำลังเป็นเหยื่อในโลกที่ไม่ยุติธรรมใบนี้
แต่สอนให้พวกเขาเรียนรู้จากข้อผิดพลาด และหาทางจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างสร้างสรรค์
2. ไม่เอาความรู้สึกผิด มากำหนดการตัดสินใจ
การที่เราสอนให้ลูกเป็นคนที่มีจิตใจดี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่เป็นสิ่งที่ดี แต่ก็ไม่ควรมากเกินไป จนลืมความผิดชอบชั่วดี
ตัวอย่างเช่น ที่โรงเรียนมีเพื่อนไม่ได้ทำการบ้านมา หรือไม่ได้อ่านหนังสือมาเพื่อมาสอบ และขอลอกการบ้าน
ด้วยความรู้สึกผิดของเด็ก กลัวว่าเพื่อนจะโดนครูทำโทษหรือสอบตก ถ้าไม่ให้เพื่อนลอก
เด็กอาจจะยอมทำผิด เพื่อให้เพื่อนไม่ต้องถูกทำโทษ ซึ่งนั่นไม่ถูกต้อง
3. ให้ลูกเป็นจุดศูนย์กลางของจักรวาล
ลูกเป็นศูนย์กลางของจักรวาล พ่อแม่หลายคนรักลูก ให้ความรัก ความเอาใจใส่ ตามใจทุกอย่าง ยิ่งถ้าบ้านนั้น ๆ
มีเด็กเพียงคนเดียว บ่อยครั้งเด็กคนนั้น มักจะได้ความรัก ความใส่ใจจากทุกคนรอบตัว เป็นผู้รับเสมอ โดยลืมเรียนรู้ที่จะเป็นผู้ให้
ซึ่งจะมีผลอย่างมากเมื่อพวกเขาโตขึ้นมา เมื่อโลกไม่ได้เหมือนที่บ้านอีกต่อไป การฝึกให้ลูกรู้จักเป็นผู้ให้ รู้จักสร้างประโยชน์ จึงเป็นเรื่องสำคัญ
4. อย่าให้ความกลัวมีผลต่อการตัดสินใจ
พ่อแม่มีหน้าที่ต้องปกป้องลูกจากอันตราย แต่เราควรให้เด็กได้เรียนรู้ที่จะรับมือกับความกลัวต่าง ๆ ด้วย
สอนลูกถึงอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้น สอนลูกให้เข้าใจความรู้สึกกลัว และรับรู้มัน ฝึกให้ลูกได้รู้จักเผชิญหน้ากับความกลัว
อย่าให้ความกลัวมามีผลกับการตัดสินใจในชีวิต โดยที่การตัดสินใจนั้น ๆ จะนำพาพวกเขาไปยังชีวิตที่พวกเขาไม่ได้ต้องการอย่างแท้จริง
5. ให้อำนาจพวกเขาในการตัดสินใจอย่างเหมาะสม
การฝึกให้เด็กกล้าที่จะตัดสินใจ โดยให้เด็กมีโอกาสในการตัดสินใจในสถานการณ์ต่าง ๆ จะช่วยให้พวกเขามีความมั่นใจ
แต่อย่างไรก็ตาม ก็ควรให้พวกเขาได้รับรู้ถึงหน้าที่ และบทบาทของคนในบ้าน เช่น พ่อ แม่ พี่ หรือญาติผู้ใหญ่ ที่เขาควรจะแสดงความนับถือเช่นกัน
6. ไม่คาดหวังความสมบูรณ์แบบ
การสอนให้ลูกมีความพยายาม และทำทุกอย่างด้วยความสามารถอย่างดีที่สุด แต่ไม่จำเป็นต้องสมบูรณ์แบบ
ลูกสามารถล้มเหลวได้ ผิดพลาดได้ จะช่วยให้พวกเขาเรียนรู้ที่จะรับมือกับอุปสรรคในชีวิตได้ดีกว่า
และมีความสุขกว่า เด็กที่ต้องพยายามทำทุกอย่างให้สมบูรณ์แบบ
7. ฝึกให้ลูกมีความรับผิดชอบ
ความรับผิดชอบเป็นอุปนิสัยที่สำคัญ ต่อการดำเนินชีวิตให้ประสบความสำเร็จ ดังนั้น เราควรฝึกให้ลูกมีความรับผิดชอบในกิจกรรม
หรือหน้าที่ของตัวเองตั้งแต่เล็ก ๆ เช่น การที่จะต้องทำการบ้านให้เสร็จ การต้องแปรงฟันก่อนเข้านอน หรืออื่นๆ
8. ไม่ปกป้องลูกจากความผิดหวัง ความเจ็บปวด มากจนเกินไป
ความผิดหวัง ความทุกข์เป็นเรื่องปกติที่มนุษย์ทุกคนจะต้องเจอแน่นอน คนเป็นพ่อเป็นแม่
ไม่อยากเห็นลูกของตัวเองผิดหวังและเจ็บปวด หลายคนพยายามปกป้องลูกของตัวเองจากความรู้สึกนี้
ซึ่งไม่เป็นผลดีในระยะยาวของเด็กคนนั้น ๆ วิธีที่เหมาะสมคือ ฝึกให้ลูกได้เผชิญความผิดหวัง
แต่อยู่ข้าง ๆ พวกเขา คอยแนะนำ และให้กำลังใจในการจัดการกับความรู้สึก และปัญหาที่เกิดขึ้น
9. ฝึกให้ลูกรู้จักจัดการกับอารมณ์ของตัวเอง
พ่อแม่จำนวนมากอยากให้ลูกมีความสุข ก็จะพยายามสร้างความสุขให้ลูก ด้วยวิธีการต่าง ๆ
แต่ในโลกของความเป็นจริง ความรู้สึกมีความสุข หรือความทุกข์ เป็นความรับผิดชอบของบุคคลนั้น ๆ
เราควรจะสอนให้ลูกรู้จักจัดการกับอารมณ์ของตัวเอง ไม่ใช่คนปกป้องเขาตลอดเวลา
10. ปล่อยให้ลูกได้ลองผิดลองถูกบ้าง
ความที่รักลูก ก็อยากมั่นใจว่า ทุกสิ่งที่ลูกทำจะไม่เกิดข้อผิดพลาด เช่น พยายามตรวจการบ้าน
เช็คกระเป๋านักเรียน ว่าลูกเอาทุกอย่างไปโรงเรียนครบ เราควรฝึกให้พวกเขาได้เรียนรู้จากความผิดพลาดบ้าง
เพื่อให้เขาได้พัฒนา และเรียนรู้วิธีการในการจัดการกับปัญหาได้ด้วยตัวของพวกเขาเอง
11. ฝึกให้ลูกมีวินัย ยอมรับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากการกระทำของเขา
การลงโทษ คือการที่เราทำโทษลูกของเรา “เมื่อพวกเขาทำผิด” และการฝึกความมีระเบียบวินัยคือ
ฝึกให้พวกเขาสร้างอุปนิสัยที่ดี ที่จะมีผลต่อความสำเร็จของพวกเขาเองในอนาคต การฝึกให้เด็กมีระเบียบวินัย
อาจทำได้โดยให้พวกเขาได้เรียนรู้ถึง ผลกระทบจากการที่ไม่ทำอะไรบางสิ่งบางอย่างซึ่งไม่ใช่การลงโทษ
การที่พวกเขาสามารถรู้ถึงผลที่จะเกิดขึ้น ซึ่งเป็นผลดีหรือผลเสียกับชีวิตของพวกเขาได้ด้วยตัวของพวกเขาเองเป็นเรื่องที่ดี
12. ไม่หาทางลัดให้กับลูก ๆ
บางครั้งเวลาที่เราเห็นลูกทำอะไรช้า เราก็อยากที่จะช่วย เพื่อให้เร็วขึ้นและดีขึ้น แต่เราควรที่จะให้พวกเขาได้ทำเอง
ได้ฝ่าฟันอุปสรรค และเรียนรู้การลงมือทำอะไรบางอย่าง ให้สำเร็จด้วยตัวเอง ตั้งแต่เริ่มต้นจนจบ
13. สอนให้ลูกรู้จักคุณค่าที่แท้จริงของการมีชีวิต
สอนให้ลูกของเราเห็นคุณค่าของตัวเอง เรียนรู้ที่จะรักษาคุณค่านั้น ๆ เอาไว้