ใช้มือขวาจับภาชนะที่เทน้ำแล้วเริ่มเทน้ำลงไป โดยเริ่มกรวดน้ำขณะที่พระท่านขึ้นต้นบทสวดว่า “ยะถา วะริวะหาปูรา…”
โดยเทน้ำไปเรื่อย ๆ ไม่ให้ขาดสาย ขณะที่เทน้ำนั้น ก็ให้ตั้งจิตอุทิศบุญที่ทำ ส่งให้ผู้ที่ต้องการจะให้ โดยไม่ต้องกังวลถึงสิ่งใด
ระวังอย่าให้จิตส่ายและไม่ต้องกลัวว่า พระจะสวดจบบทกรวดน้ำเสียก่อน เพราะสิ่งสำคัญในการส่งบุญก็คือ จิตที่แน่วแน่เป็นเรื่องสำคัญที่สุด
ส่วนมืออีกข้างที่ไม่ใช้กรวดน้ำ ระวังอย่าเอามือหรือนิ้วไปขวางทางน้ำที่ไหล เพราะจะเป็นการปิดกั้นกระแสบุญ ไม่ให้ไหลอย่างสะดวก
และมีผู้ปฏิบัติผิด ๆ เช่นนี้อยู่มากมาย อย่างไรก็ตาม ถ้าหากไม่สามารถหาน้ำมากรวดให้ได้ทัน ก็ใช้วิธีการกรวดแห้งก็ได้
คือใช้จิตที่ตั้งมั่นแล้วนั้นเป็นการส่งบุญ บุญนั้นย่อมส่งถึงตัวผู้ที่เราปรารถนาให้ได้รับเช่นเดียวกัน
การรับพรพระ คือ อาการที่ผู้ที่ทำบุญนั้น ได้แสดงความนอบน้อมทั้งกายและใจ รับความปรารถนาดี ที่พระภิกษุสงฆ์ตั้งจิตที่มี
เปี่ยมด้วยความเมตตาปรารถนาให้ผู้ให้ทานนั้นมีความสุข ทำการสวดประสิทธิ์ประสาท ให้ผู้ทำบุญได้รอดพ้นจากอันตรายภัยพิบัติทั้งหลาย
และเจริญด้วยอายุ (ชีวิต) วรรณะ (ฐานะ) สุขะ (สุขภาพดี) พละ (กำลังกายและกำลังใจ) เป็นต้น
บทที่พระท่านเริ่มสวดให้พร สำหรับการตักบาตรทำบุญทั่วไปก็คือ “สัพพีตีโย วิวัชชันตุ..”
โดยขณะรับพร ก็ให้น้อมจิตตั้งมั่นรับอย่างมีสมาธิ จนกว่าท่านจะสวดให้พรจบ
การรับพรพระที่ดีนั้น “หลวงปู่ดู่ พรหมปัญโญ” ครูบาอาจารย์คนสำคัญท่านได้ให้แนะนำ ในการตั้งจิตเพื่อรับพรว่า
“ข้าพเจ้าขอรับพรที่ได้นี้ ขอให้ติดตามข้าพเจ้าตลอดไปในชาตินี้ชาติหน้า” เสร็จแล้วก็อธิษฐานเรียกพระเข้าตัว
เป็นอันเสร็จสิ้นการทำบุญตักบาตรโดยสมบูรณ์ ทั้งนี้ก็เพื่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกัน
และเป็นประโยชน์กับผู้ที่แสวงบุญ เพื่อให้ได้รับผลบุญนั้นได้มากที่สุด