เชื่อว่าหลายคนเก็บออมเงินไว้กับธนาคาร ซึ่งเห็นว่ามีความปลอดภัยและง่ายในการเก็บ
แต่คนเราไม่สามารถรู้ถึงวันสุดท้ายของตัวเองได้ เมื่อถึงวันสุดท้ายของเรา แต่ยังมีเงินอยู่ในธนาคารลูกหลานควรทำอย่างไร
แล้วลูกหลานจะเอาเงินนั้นออกมาได้อย่างไร วันนี้เรามีคำตอบมาฝากกัน
โดยกฎหมายแล้ว ผู้ที่สามารถติดต่อขอปิดบัญชีได้ คือ ผู้จัดการมรดกตามที่พินัยกรรมระบุไว้
แต่หากไม่มีพินัยกรรม หรือไม่ได้ระบุชื่อในพินัยกรรม ทายาทจะต้องทำเรื่องร้องขอให้ศาล
แต่งตั้งผู้จัดการมรดกเสียก่อน ซึ่งใช้เวลาประมาณหนึ่งถึงสองเดือน หลังจากนั้น
ผู้จัดการมรดกก็จะสามารถติดต่อสถาบันการเงิน เพื่อปิดบัญชีได้
เอกสารประกอบการขอรับมรดกเงินฝากของผู้วายชนม์ Bank สีเขียว กรณีมีคำสั่งศาลแต่งตั้งผู้จัดการมรดกมาแสดง
1. สำเนาใบมรณะบัตร
2. หนังสือทายาทขอรับมรดก(E05093-4-12)
3. สำเนาคำสั่งศาลแต่งตั้งผู้จัดการมรดก
4. สำเนาบัตรประจำตัว ปชช. ของผู้จัดการมรดกหรือสำเนา Passport กรณีผู้จัดการมรดกเป็นชาวต่างชาติ
5. สำเนาหนังสือรับรองคดีถึงที่สุด
6. ใบรับเงิน
7. สมุดเงินฝากทุกประเภทของผู้วายชนม์(ถ้ามี)
หมายเหตุ หนังสือรับรองคดีถึงที่สุด จะขอจากศาลได้หลังจากคำสั่งศาลแต่งตั้งผู้จัดการมรดกแล้ว 30 วัน
รายการ 5 และ 6 ทาง Bank มีให้กรอก ต้องนำเอกสารตัวจริงไปแสดงด้วย
กรณีไม่มีคำสั่งศาลแต่งตั้งผู้จัดการมรดกมาแสดง
1. สำเนาใบมรณะบัตร
2. สำเนาบัตรประจำตัว ปชช. และสำเนาทะเบียนบ้านของทายาททุกคน ผู้มาขอรับเงิน
3. หนังสือทายาทขอรับมรดก(E05093-4-12)
4. หนังสือสัญญาค้ำประกัน
5. สำเนาบัตรประจำตัว ปชช. และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ค้ำประกัน
6. หนังสือยินยอมจากคู่สมรสของผู้ค้ำประกัน (ในกรณีที่ผู้ค้ำประกันสมรสแล้ว)
7. ใบรับเงิน
8. ใบสำคัญการจดทะเบียนสมรสของผู้วายชนม์(ถ้ามี)
9. สมุดเงินฝากทุกประเภทของผู้วายชนม์(ถ้ามี)
เมื่อได้รับคำสั่งแต่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดกแล้ว ให้นำหลักฐานที่มีไปยื่นต่อสาขาที่จะปิดบัญชี
ทางสาขาจะส่งเรื่องให้ สนง. ดำเนินการ อาจใช้เวลาสัก 1-2 อาทิตย์
จะมี จม. แจ้งจาก สนง. ให้ไปติดต่อที่สาขาเพื่อเบิกเงินได้
ถ้าโชคดีได้รับ จม. และครบกำหนด 30 วัน หลังจากได้รับคำสั่งแต่งตั้งเป็นผู้จัดการมรดกแล้ว
ให้ไปขอหนังสือรับรองคดีถึงที่สุดจากศาล ก่อนไปปิดบัญชีที่สาขา
ในกรณีที่อยากได้เร็ว หรือไม่อยากไปศาลเพื่อขอหนังสือรับรองคดีถึงที่สุด
Bank แจ้งว่า สามารถพาบุคคลที่น่าเชื่อถือเพื่อไปรับรองการปิดบัญชีได้
โดยสรุปแล้ว เราขอแนะนำว่า วิธีการที่ดีที่สุดคือ การทำพินัยกรรมไว้ก่อน
เพื่อจะได้ไม่ต้องเป็นภาระของทายาท ในการดำเนินการภายหลัง ซึ่งการทำพินัยกรรมนั้น
ไม่ได้หมายความว่าเป็นการแช่งตัวเอง แต่หากมองตามหลักเหตุและผล
การทำพินัยกรรม ถือเป็นการวางแผนการเงินที่รอบคอบมากกว่า
ที่มา sabidee