หลายคนคงรู้และเข้าใจว่า การศึกษาทุกวันนี้ คืออนาคต ความหวังให้ลูกคุณ
ฉะนั้น หลาย ๆ ครอบครัว เขาจึงทุ่มเททุกสิ่งที่มี ให้ลูกได้เรียนโรงเรียนดี ๆ
แต่ก็ลืมไปว่า ควรพัฒนาทักษะด้านอื่น ๆ ไปด้วย
1. หากลูกอายุได้สองขวบ
เราส่งลูกเข้าเนอสเซอรี่ หมดค่าใช้จ่ายไปปีละแปดหมื่น แค่คิดว่ากลัวไม่ทันเพื่อน
กลับกลายเป็นส่งลูกไปติดหวัดที่โรงเรียน เพราะวัยนี้ ภูมิต้านทานยังไม่แข็งแรง
ไหนจะเสี่ยงที่จะต้องเจอกับเนอสเซอรี่ที่ไม่ดี หรือพี่เลี้ยงที่สอนแบบผิด ๆ
กลับกลายเป็นพฤติกรรมตัวอย่าง ที่ลูกได้มาแบบที่ไม่รู้ตัว
2. เมื่ออยู่อนุบาลยันประถม
ทั้งในและนอกหลักสูตร ต้องกวดวิชาเพื่อเตรียมสอบเข้าป.1 เสริมด้วยไวโอลิน อังกฤษ คณิต
ว่ายน้ำ ฯลฯ เพราะคิดว่า ลูกจะเก่งน้อยกว่าคนข้างบ้าน แต่คุณพ่อคุณแม่หารู้ไม่ว่า
จินตนาการคือสิ่งที่สำคัญที่สุด ที่จะนำให้ลูกของคุณเติบโตไปเป็นผู้ใหญ่ที่ประสบความสำเร็จ
แต่คุณกำลังให้เรียนโน่นทำนี่ สิ่งเหล่านี้แหละมันไปปิดกั้นพัฒนาการในด้านการจินตนาการของเขา
เราแค่กลัวว่า ลูกจะไม่เก่ง แต่ไม่เคยถามความรู้สึกของลูกว่า เขาฝันอยากเป็นอะไร อยากทำอะไร
3. มัธยมอมเปรี้ยว
ทีนี้หนักเลย เพื่อการที่จะสอบได้คะแนนดี ๆ เพื่อเข้ามหาลัยได้ เรียนพิเศษทุกเย็นหลังเลิกเรียน
เสาร์อาทิตย์ วันปิดเทอม ลูกก็ไม่ได้พัก บางครั้งลูกไม่อยากไป แต่พ่อแม่เนี่ยอยากให้ไป
บางบ้านนะหมดเงินปีละ 6 ถึง 7 แสน เพื่อให้ลูกได้เรียนในสิ่งที่คิดว่าดี คือยังไม่ทันเข้ามหาลัยเลย หมดไปเยอะละ
4. โลกแห่งความเป็นจริงวัยทำงาน
เมื่อลูกเรียนจบ ก็คาดหวังว่า ลูกฉันเลี้ยงมาอย่างพิเศษ เพราะงั้นจะจ้างลูกฉัน มันต้องแพงกว่าสิ
ส่งเรียนไปหมดไปหลายล้านนะไรงี้ “คือคุณค่าของใบปริญญาของพ่อแม่ กับนายจ้างที่มองมันต่างกัน”
พ่อแม่ชาวไทย ตีค่าใบปริญญาลูกรักสูง นั่นเป็นเพราะเราอยู่ในกระบวนการจ่ายเงินจริงมายาวนาน
และลำบากมากว่า 20 ปี แต่นายจ้างกลับตีค่าไม่สูงแบบนั้น และนายจ้างกลับมีคำถามใหญ่ 3 คำถามดังต่อไปนี้
1. เคยทำอะไรสำเร็จบ้าง
2. ลูกคุณทำอะไรเป็นบ้าง ทำอะไรได้บ้างล่ะ
3. จะมาสร้างความสำเร็จอะไรให้ที่นี่ล่ะ
ความเห็นส่วนตัวนะ หากว่าพ่อแม่ชาวไทย (ส่วนหนึ่งไม่ใช่ทั้งหมด) ที่ลงทุนกับการศึกษาลูกด้วยเงินจำนวนเยอะ ๆ
ปรับแนวคิดสักนิด ประหยัดเงินบางส่วน แล้วนำเงินส่วนเดียวกันนี้ เริ่มทำธุรกิจให้ลูก
ในช่วงปิดเทอม ให้ลูกได้ใช้ความอดทนความพยายาม ริเริ่มสร้างสรรค์ เป็นผู้ประกอบการในยุคสมัยที่อาชีพการงานไม่เป็นใจ
เผื่อเวลาจากการศึกษาให้เขาได้ลองเรียนรู้ เขียนหนังสืออ่านหนังสือ ลองเขียนโปรแกรมสร้างแอพ
ลอง design ขายของ ฯลฯ จนสุดท้ายหาเงินด้วยตัวเองให้ได้ ก่อนที่จะเรียนจบ
หากเขาสามารถส่งตัวเองเรียนได้ หรือมีรายได้มาแบ่งเบาภาระเรื่องค่าการเรียนได้สักหน่อย
สิ่งเหล่านี้แหละจะช่วยพัฒนาเขาได้ไม่แพ้การศึกษาเลย และพ่อแม่ได้ภูมิใจที่ลูก ๆ ได้ฝึกภูมิต้านทาน
และความแกร่ง เพราะเงินเพียงอย่างเดียว ไม่สามารถซื้อสมองให้ลูกคุณได้
ไม่ใช่คะแนนสอบที่สูงลิ่ว แต่คิดอะไรเองไม่ได้เช่นนี้
ไม่ได้เรียกว่าฉลาดแต่เรียกว่าจำเก่ง แล้วนำไปทำข้อสอบได้
คงจะดีกว่านี้ ถ้าทั้งเก่งในข้อสอบ และเก่งในทักษะโลกของชีวิตจริง