1. อย่าใจร้อน
การจะลงทุนทําธุรกิจซักอย่าง คุณจะต้องตรวจสอบข้อมูลในด้านต่างๆ อย่างรอบคอบถี่ถ้วนเสียก่อน
ไม่ว่าจะเป็นทําเลที่ตั้ง ว่าเหมาะสมกับรูปแบบของธุรกิจหรือเปล่า เช่น เปิดธุรกิจร้านอาหาร
แต่ทําเลที่เปิด อยู่ในตรอกที่ไม่ค่อยมีคนผ่าน ไม่มีโรงงาน ไม่มีบริษัทที่มีพนักงานประจําจํานวนมาก
แต่รีบตัดสินใจเปิด เพียงเพราะว่าค่าเช่าที่ถูก อย่างนี้ก็เติบโตได้ยาก
หรืออย่างสินค้าที่เลือกมาจําหน่ายนั้น ก็ควรที่จะรู้กลุ่มเป้าหมายอยู่แล้ว
เปรียบเสมือนการเอาเหยื่อ ที่ปลาชนิดหนึ่งชอบ ไปล่อไว้ในแหล่งที่มีปลาชนิดนั้น
สมมุติสถานการณ์ต่างๆ ที่อาจเกิดขึ้นได้ และมีแนวทางแก้ปัญหา
ถ้าคุณสามารถหาวิธีแก้ปัญหา ตามที่คิดไว้ได้ทั้งหมด ก็ตัดสินใจเปิดธุรกิจได้เลย
แม้ว่าในสถานการณ์จริง อาจมีบางปัญหาที่คุณคาดการณ์ไว้ไม่ถึง
แต่ก็น่าจะเป็นส่วนใหญ่แล้ว ที่คุณได้เตรียมการณ์รับมือไว้ล่วงหน้า
อย่าลืมเรื่องสําคัญที่สุด อย่างเรื่องงบประมาณ คิดเผื่อไว้เลยว่าคุณสามารถขาดทุนได้นานเพียงใด
และในช่วงเวลานั้น คุณสามารถทําให้ธุรกิจของคุณ ติดตลาดแล้วเลี้ยงตัวมันเองได้หรือไม่
2. อย่าใช้จ่ายเงินโดยที่ไม่บันทึกรายรับรายจ่าย
เรื่องละเอียดอ่อนที่หลายๆ คนมักมองข้ามไป เพียงเพราะคิดว่าเป็นเรื่องเล็กน้อย
ที่สามารถยืดหยุ่นได้ นิดๆ หน่อยๆ คงไม่เป็นไร เป็นความคิดที่ผิดนะ
เพราะคุณจะไม่รู้เลยว่า มีค่าใช้จ่ายใดบ้างที่เกินจำเป็น และต้องตัดส่วนไหนออก
เมื่อนานไป ค่าใช้จ่ายส่วนเกินพวกนี้ ก็จะสะสมมากขึ้นเป็นก้อนใหญ่
จนทําให้คุณไปถึงเส้นชัยได้ช้าลง หรืออาจจะไปไม่ถึงฝั่งฝันได้ในที่สุด
3. อย่าถอดใจ
คนทําธุรกิจส่วนหนึ่งมักถอดใจล้มเลิกธุรกิจไปกลางคัน เพียงเพราะเจอปัญหาบางอย่างที่ไม่ได้คาดคิดมาก่อน
พยายามมองในระยะยาวไว้ การทําธุรกิจก็ต้องมีอุปสรรคบ้างเป็นธรรมดา
เป็นบททดสอบว่า หากคุณไปอยุ่ในจุดที่สูงกว่านี้ ปัญหาหนักกว่านี้ คุณพร้อมจะรับมือมันหรือเปล่า
สิ่งหนึ่งที่คุณควรทําความเข้าใจคือ “รอบธุรกิจ” เทียบง่ายๆ ก็เหมือนกับ “ฤดูกาล”
ใน 1 ปี เขตร้อนก็จะมี 3 ฤดู เขตหนาวก็จะมี 5 ฤดู แต่ละฤดูก็มีเอกลักษณ์เฉพาะ
ฤดูหนาวอากาศเย็น ฤดูร้อนอากาศร้อน ฤดูฝนก็ฝนตก ธุรกิจเองก็เช่นกัน
ไม่ว่าธุรกิจนั้นจะครองตลาดส่วนมากแค่ไหน ย่อมต้องมีรอบของมัน
ช่วงระยะเวลาใดธุรกิจทําเงินได้มาก ช่วงเวลาใดธุรกิจทําเงินได้น้อย
อย่างน้อยๆ คุณต้องอยู่สัมผัสมันให้ครบหนึ่งรอบเสียก่อน เพื่อวางแผนการแก้ปัญหาสําหรับรอบต่อไป
แต่ละธุรกิจมีรอบไม่เท่ากัน และระยะเวลาของช่วงทําเงิน กับช่วงขาดทุนก็สั้นยาวไม่เท่ากัน
คุณต้องเรียนรู้ให้หมดว่า ธุรกิจมีช่องโหว่ช่วงไหน เมื่อวางแผนไว้แล้วก็ลองใช้ในรอบธุรกิจต่อไป
แล้ววิเคราะห์ว่า ผลที่ได้คุ้มค่าตามต้องการหรือไม่ หรือว่ายังไม่คุ้มเท่าที่ควร
ก็วางแผนแก้ไขกันใหม่ในรอบธุรกิจต่อไป อย่างนี้เป็นต้น ลองปรับใช้ตามธุรกิจของคุณดู
4. อย่าเลี่ยงคําติเตียน
หากคุณเป็นคนหนึ่งที่อยากพัฒนาธุรกิจ ควรรู้ไว้ว่าปกติแล้ว คนที่จะติเตียนคุณมีแค่ 2 ประเภท
คือคนที่อิจฉาคุณ กับคนที่รักและเป็นห่วงคุณเท่านั้น ต่างกันตรงที่ว่า คนที่อิจฉาจะติเตียนลับหลังคุณ
แต่คนที่รักและเป็นห่วงคุณ จะติเตียนคุณต่อหน้า ดังนั้น หากมีใครมาติธุรกิจหรือการบริหารงานของคุณ
จงฟังและขอบคุณเค้าซะ นั่นแสดงว่าเค้าเป็นห่วงคุณมาก การที่คนๆ หนึ่งจะรวบรวมความกล้า
พูดติเตียนคุณซึ่งๆ หน้านั้น ต้องผ่านการพินิจพิเคราะห์ กลั่นกรองคําพูด วิเคราะห์ผลกระทบที่อาจเกิดตามมา
รวมไปถึงคิดว่า จะกระทบกับจิตใจคุณอย่างไรด้วย จนสุดท้ายจบตรงเหตุผลที่ว่า หากไม่บอก..ธุรกิจคุณล้มแน่
เมื่อทุกเหตุผลมันลงตัว เค้าจึงจะตัดสินใจพูดกับคุณ นี่คือเงาสะท้อนที่ดีที่สุดของธุรกิจเลย
และธุรกิจที่เติบโตได้เร็ว ส่วนมากก็จะนําข้อติเตียนเหล่านั้นนั่นแหละ มาเป็นประเด็นหลัก
แล้วหยิบยกไปแก้ปัญหา ทําให้ธุรกิจนั้นๆ เติบโตขึ้น และครองใจคนส่วนมากได้ในที่สุด
5. อย่าอคติกับธุรกิจของตัวเอง
เมื่อใดก็ตามที่คุณมีอคติ ต้องลองมองย้อนกลับในข้อแรกว่า ก่อนการเริ่มธุรกิจนั้น
คุณยังเชื่อมั่นในธุรกิจของคุณเลยว่า มันจะประสบความสําเร็จ และไปรอดในที่สุด
เพียงแค่เจออุปสรรคเล็กน้อย คุณก็เริ่มมีอคติ แล้วธุรกิจของคุณมันจะไปรอดได้อย่างไร
ความคิดอคติที่ว่านี่ก็อย่างเช่น ธุรกิจนี้น่าจะไม่เหมาะกับทําเลแถวนี้หรือเปล่า
หรืออาจคิดว่า สินค้าของคุณไม่ดีเหรอ เว้นเสียแต่ว่าในข้อห้ามข้อแรก
คุณไม่ปฏิบัติอย่างเคร่งครัด รีบร้อนทําธุรกิจ จนลืมวิเคราะห์ปัญหาที่จะเกิด นั่นก็อีกเรื่องหนึ่ง
6. อย่าหมิ่นเงินน้อย
ธุรกิจในช่วงเริ่มต้นนั้นจะทําเงินได้ไม่มากเท่าที่ควร หรืออาจไม่คุ้มเลยก็ว่าได้
แต่ในเมื่อคุณผ่านข้อห้ามข้อแรกมาได้แล้ว นั่นแสดงว่าคุณเองก็มีความเชื่อมั่นว่า
ธุรกิจของคุณจะสามารถเติบโตได้อย่างแน่นอน ดังนั้น ควรจะวางแผนการ
ปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ต่างๆ ให้เหมาะสมกับธุรกิจ ดีกว่ามานั่งอมทุกข์ว่าได้เงินน้อยจัง
ซักวันหนึ่งเงินน้อยๆ หลายๆ ก้อนนี่แหละที่จะทําให้คุณเป็นเศรษฐีพันล้าน
ยกตัวอย่างง่ายๆ คุณคิดว่าทําน้ำพริกขายเนี่ย กําไรจะมากซักเท่าไหร่เชียว
ใครๆ ก็ทําน้ำพริกเป็น แต่ทําไมเจ้าของธุรกิจเหล่านั้น เขายังยืนหยัดสู้
จนเป็นส่วนหนึ่งของตลาดได้ในที่สุด ข้อแตกต่างมันอยู่ที่ทัศนคติ
เจ้าของธุรกิจเหล่านี้เค้าผ่านรอบธุรกิจมาแล้วหลายรอบ เค้ามองออกว่า
จุดไหนสามารถพัฒนาได้อีก 1 กระป๋อง กําไร 1 บาท ล้านกระป๋องก็กําไรล้านบาทแล้ว
ไม่เห็นต้องคิดให้ยุ่งยากเลย คุณคิดมาตั้งแต่แรกแล้ว ก็จงมุ่งมั่นทําจนสําเร็จให้ได้
7. อย่าอาศัยพนักงานมากเกินไป
เพราะคุณเป็นเจ้าของธุรกิจ คุณต้องรู้ขั้นตอนของธุรกิจทุกอย่าง
รู้ปัญหาทุกอย่าง และรู้วิธีแก้ปัญหาทุกอย่าง ถึงแม้ว่าธุรกิจของคุณจะเติบโตขึ้นมา
จนมีพนักงานหลายร้อย คุณก็ต้องลงไปบริหารงานทุกส่วนด้วยตัวเอง
8. อย่าตกยุค
ข้อมูลข่าวสารสําคัญมากสําหรับทุกธุรกิจ ข่าวเศรษฐกิจ ข่าวการเมือง ข่าวต่างประเทศ
ข่าวกีฬา ข่าวบันเทิง ข่าวเทคโนโลยี แทบทุกข่าวจะทําให้คุณทราบถึง
การเปลี่ยนแปลงของสถานการณ์บ้านเมือง ทั้งในและนอกประเทศ
คุณก็สามารถที่จะคาดการณ์ได้ล่วงหน้าว่า อาจพบกับวิกฤตอะไรต่อไปหรือไม่
ควรเตรียมตัวรับมืออย่างไร หรือว่าจะพลิกวิกฤตเป็นโอกาสได้อย่างไรดี
ทุกอย่างล้วนขึ้นอยู่กับข้อมูลที่คุณรับเข้ามาทั้งนั้น
9. อย่าปล่อยให้ร่างกายอ่อนแอ
คงไม่ดีแน่หากคุณหาเงินมามากมายก่ายกอง เพื่อจองห้องพิเศษสุดหรูในโรงพยาบาล
มันไม่คุ้มกัน เพียงแค่คุณหาเวลาออกกําลังกายบ่อยๆ อย่าอ้างว่าไม่มีเวลา
เพราะเวลานั้นเป็นต้นทุนได้เปล่า ทุกคนได้รับมาคนละ 24 ชั่วโมงเท่ากัน
สำคัญที่คุณจะบริหารเวลาอย่างไรต่างหาก ส่วนการสังสรรค์หากเลี่ยงไม่ได้ก็ลด
เน้นทานอาหารดีๆ มีประโยชน์ต่อสุขภาพร่างกาย เพราะคุณใช้สมองในการคิดมากทีเดียว
ต้องบํารุงให้ดี อาหารสด สะอาด ดีกว่าอาหารเสริมอย่างแน่นอน ราคาก็ถูกกว่า
เท่านี้คุณก็สามารถมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง ไว้ลุยงานสานฝัน
มีสมองปลอดโปร่ง ไว้คิดแก้ปัญหา หรือวางแผนล่วงหน้าได้อย่างสบายๆ
ที่มา : s m e l e a d e r
เรียบเรียงโดย : อ่านสนุก