วิธีบริหารเงินแบบ 6 โถ พลิกชีวิตให้เป็นคนรวยได้จริง

วิธีบริหารเงินแบบ 6 โถ พลิกชีวิตให้เป็นคนรวยได้จริง

ผู้เชี่ยวชาญทางด้านการเงินและการลงทุน ได้แนะนำวิธีบริหารเงินในแต่ละเดือน

ด้วยการใช้โถเป็นสัญลักษณ์ เพื่อแบ่งเงินให้เป็นสัดส่วน ตามรายได้ของตัวเอง ดังนี้

1. โถสำหรับรายจ่ายประจำ (55%)

2. โถแห่งการซื้อความสุขส่วนตัว (10%)

3. โถแห่งความรู้พัฒนาตนเอง (10%)

4. โถแห่งการสร้างอิสรภาพทางการเงิน (10%)

5. โถเงินสำรองฉุกเฉิน (10%)

6. โถแห่งการแบ่งปัน (5%)

1. โถสำหรับรายจ่ายประจำ (55%)

เงินในโถใบที่หนึ่งนี้ เป็นเงินสำหรับใช้จ่ายสิ่งที่จำเป็น ในชีวิตประจำวัน

ไม่ว่าจะเป็น ค่าอาหาร ค่าน้ำ ค่าไฟ ค่าเช่าบ้าน ค่าน้ำมัน เป็นต้น

โดยเงินส่วนนี้ คิดเป็น 55% ของรายได้ทั้งหมดในแต่ละเดือน

2. โถแห่งการซื้อความสุขส่วนตัว (10%)

โถใบที่สองนี้ มีหน้าที่ใช้สร้างความสุขของคุณ ไม่ว่าจะเป็นการใช้เที่ยวฉลอง

เข้าสปา พาสาวไปเดท ชอปปิ้งออนไลน์ หรืออะไรก็แล้วแต่ ที่คุณต้องการ

ถ้าจะมารอตอนแก่ ก็คงจะเสียโอกาส พลาดสิ่งที่อยากทำในช่วงนั้นๆ

เงินในส่วนนี้ คุณต้องใส่โถเอาไว้ 10% ของรายได้

3. โถแห่งความรู้ พัฒนาตนเอง (10%)

เงินในโถใบที่สามนี้ มีไว้เพื่อใช้พัฒนาความรู้ หากคุณอยากเก่งขึ้นกว่าเมื่อวาน

คุณจำเป็นที่จะต้องศึกษาความรู้ใหม่ๆ อยู่เสมอ จะดีไหม ถ้ามันจะทำให้คุณ

สามารถสร้างรายมากขึ้นกว่าเดิม จากการที่มีความรู้ที่มากขึ้น

คุณสามารถนำเงินในส่วนนี้ ไปใช้พัฒนาตัวเองได้เลย โดยเงินในส่วนนี้

คุณต้องใส่โถเอาไว้ 10% ของรายได้ ในแต่ละเดือน

4. โถแห่งการสร้างอิสรภาพทางการเงิน (10%)

โถใบที่สี่นี้ จะเป็นเสมือนกับห่านทองคำ หรือเครื่องผลิตเงินให้คุณ

ในยามที่คุณไม่มีแรงทำงานแล้ว คุณไม่ต้องไปคิดฝากชีวิตไว้กับลูกหลาน

ให้ตัวเองต้องเป็นภาระ ซึ่งอาจนำไปลงทุนในหุ้น กองทุนรวม สหกรณ์ออมทรัพย์

สลากออมสิน ทองคำ ประกันสะสมทรัพย์ เงินฝากดอกเบี้ยสูง ฯลฯ

อันนี้ขึ้นอยู่กับความรู้ของคุณเลย ถ้าอยากเป็นอิสรภาพเร็วๆ ก็ต้องใช้เงินในโถที่ 3

โถแห่งความรู้ พัฒนาตนเอง ศึกษาเรื่องการลงทุนให้มากๆ

สำหรับเงินที่คุณใส่ลงในโถใบที่ 4 นี้ จะช่วยเลี้ยงตัวคุณเอง โดยคุณต้องนำไปใช้

สำหรับการลงทุน เพื่อสร้างกระแสเงินสด แบบ P a s s i v e I n c o m e

แต่มีข้อแม้ว่า คุณห้ามใช้เงินในกระปุกนี้ จนกว่ารายได้จากดอกผล

เฉลี่ยต่อเดือนที่มันจ่ายให้ จะมากกว่ารายจ่ายประจำที่คุณมี หรือเมื่อคุณเกษียณนั่นแหละ

และระลึกไว้เสมอ แม้จะเกษียณแล้ว ก็ห้ามใช้เงินต้นในโถใบนี้เด็ดขาด

ให้ใช้เพียงเงินปันผล ซึ่งเปรียบได้กับไข่ทองคำ เพราะเงินต้นที่นำไปลงทุน

เปรียบเสมือนแม่ห่านทองคำ หากเอามาใช้ก่อนเมื่อใด ก็เปรียบได้ว่า

คุณจับแม่ห่านไปกินเรียบร้อยแล้ว มันก็จะไม่มีไข่ให้คุณอีกต่อไป

5. โถเงินสำรองฉุกเฉิน (10%)

หากคุณมีรายจ่ายจำเป็น ก้อนใหญ่พิเศษแบบกะทันหัน

คุณไม่จำเป็นต้องไปหยิบยืมใครให้ลำบากใจเลย เพราะเงินในโถใบนี้

จะมีหน้าที่แก้ไขปัญหาแบบฉุกเฉิน ไม่ว่าจะเป็น ค่าจัดงานแต่งงาน

ค่ารักษาพยาบาล ค่าการศึกษาบุตร ค่าซ่อมรถ ค่าซื้อบ้าน ฯลฯ

โดยมันจะช่วยให้คุณ ไม่ต้องมีหนี้สินรุงรังในอนาคต ยังไงล่ะ

6. โถแห่งการแบ่งปัน (5%)

เงินในโถใบนี้ มีไว้สำหรับช่วยเหลือสังคม เพื่อนฝูง หรือทำบุญทำทาน

เพราะถ้าคุณรู้จักการให้ก่อนรับ คุณก็จะได้กลับโดยที่ไม่ต้องไปเรียกร้อง

ลองถามตัวเองดูว่า ระหว่างคนที่ไม่เคยให้อะไรคุณเลย กับคนที่คอยแบ่งปันให้คุณเสมอๆ

ถ้าสองคนนี้ตกอยู่ในที่นั่งลำบาก คุณอยากจะช่วยใครมากกว่ากัน

ตัวอย่างการนำทฤษฎีโถ 6 ใบไปใช้จริง ถ้าคุณมีรายได้ เดือนละ 20,000 บาท

1. โถสำหรับรายจ่ายประจำ (55%)

วิธีการแบ่งเงินคือ 20,000 x (55/100) = 11,000 บาท

2. โถแห่งการซื้อความสุขส่วนตัว (10%)

วิธีการแบ่งเงินคือ 20,000 x (10/100) = 2,000 บาท

3. โถเพื่อซื้อความรู้ พัฒนาตนเอง (10%)

วิธีการแบ่งเงินคือ 20,000 x (10/100) = 2,000 บาท

4. โถแห่งการสร้างอิสรภาพทางการเงิน (10%)

วิธีการแบ่งเงินคือ 20,000 x (10/100) = 2,000 บาท

5. โถเงินสำรองฉุกเฉิน (10%)

วิธีการแบ่งเงินคือ 20,000 x (10/100) = 2,000 บาท

6. โถเพื่อการแบ่งปัน (5%)

วิธีการแบ่งเงินคือ 20,000 x (5/100) = 1,000 บาท

ทฤษฎี 6 Jars หรือการออมเงินแบบโถ 6 ใบ

ก็เป็นหนึ่งทางเลือก ให้ผู้ที่อยากมั่งคั่งในอนาคต ได้เริ่มวางแผนทางการเงิน

เป็นเหมือนลายแทงสมบัติที่ทำได้จริง สามารถนำไปปรับใช้ให้เหมาะกับแต่ละคน

หากคุณยังอยู่ในช่วงที่มีแรงหาเงินได้ คุณก็ควรจัดสรรเงินเพื่ออนาคตด้วย

ไม่เช่นนั้น คุณอาจจะเป็นคนถังแตกในตอนแก่ ส่วนคนที่เป็นข้าราชการ

โดยปกติจะมีเงินบำนาญไว้ใช้ตอนเกษียณ หากนำทฤษฎี 6 Jars ไปปรับใช้

ยิ่งจะทำให้คุณมั่งคั่งได้เร็วกว่า ข้าราชการบำนาญคนอื่นๆ อย่างแน่นอน

คนล้มเหลวทางการเงิน มักจะพูดว่า “หาเงินทำไมเยอะแยะ ชีวิตมันสั้น ต า ยไปเดี๋ยวก็ใช้เงินไม่หมด”

คนสำเร็จทางการเงิน จะตอบกลับไปว่า “เท่าที่พบมันน่าสลดนะ ถ้าใช้เงินจนหมดแล้ว แต่ดันไม่ต า ย”

ขอบคุณ 9 r i c h e r