คุณทำอย่างไร ถ้าจะรับมือคน “เห็นแก่ตัว” อยู่ที่ทำงาน

คุณทำอย่างไร ถ้าจะรับมือคน “เห็นแก่ตัว” อยู่ที่ทำงาน

เราเข้าใจดีว่า การต้องอยู่ร่วมกับคนเห็นแก่ตัว โดยเฉพาะเพื่อนร่วมงานที่ต้องเจอหน้ากันทุกวัน

อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ เป็นเรื่องน่าอึดอัดทรมานใจไม่น้อย เราจึงมีเคล็ดวิธีรับมือกับคนเหล่านี้มาฝากค่ะ

แบบนี้สิคนเห็นแก่ตัวของจริง!

1. ชอบตักตวงผลประโยชน์เข้าตัว มากกว่านึกถึงผลประโยชน์ส่วนรวม

2. ยกยอตัวเอง เน้น “รับแต่ความชอบ” ไม่รับความผิด ความผิดคนอื่นเท่าภูเขา ความผิดเราเท่าเส้นผม

3. เอาตัวรอดเป็นยอดคน ถึงเวลาเจอปัญหาใครๆ ก็ผิดพลาดทั้งนั้น ยกเว้นตัวฉันคนเดียว

1. เลิกรับบทนางเอก

เราไม่ได้กำลังจะบอกคุณว่า คุณต้องทำตัวเป็นนางมารร้าย ใครร้ายมาให้ร้ายกลับ แต่เรากำลังจะบอกว่า

คุณไม่ควรยอมเขาไปหมดเสียทุกอย่าง เช่น เมื่องานผิดพลาด คุณรู้ดีว่าทั้งคุณและเขาต่างมีส่วน

ทำให้งานชิ้นนี้ผิดพลาดด้วยกันทั้งสองฝ่าย แต่เขากลับไปฟ้องเจ้านายว่างานนี้เขาไม่มีส่วนผิด

พร้อมงัดคำอธิบายสารพัดมาบรรยายว่าความผิดพลาดครั้งนี้ เป็นเพราะคุณแต่เพียงผู้เดียว

วิธีรับมือ

เมื่อเจออย่างนี้ อย่าไปยอมเด็ดขาด ความจริงคือความจริง คุณควรอธิบายเหตุผลทุกอย่างออกมาให้เจ้านายฟัง

ด้วยวาจาท่าที่สุภาพอ่อนน้อม แต่หากเจ้านายไม่เชื่อ ก็อย่าเพิ่งท้อใจ ขอให้คุณอดทนเข้าไว้

และใช้กาลเวลาเป็นตัวพิสูจน์ทุกอย่าง พยายามแสดงความสามารถออกมาให้เต็มที่

อย่างไรเสีย ความจริงก็ไม่มีวันต า ย สักวันเจ้านายจะรู้ได้เองว่า ใครเป็นคนอย่างไร

2. ว่ากันไปตามเนื้อผ้า

มีคนบางประเภทที่มักจะมองแต่ผลประโยชน์ของตัวเองตลอดเวลา เรื่องคิดถึงคนอื่นไม่เคยมีในหัว

ส่วนรวมหรือใครจะเดือดร้อนอย่างไรก็ช่าง เพราะผลประโยชน์เท่านั้นคือสิ่งที่ฉันต้องการ คนประเภทนี้จึงน่าสงสาร

เพราะไร้ความสุขที่แท้จริง มีแต่ความฉาบฉวยเท่านั้น ส่งผลให้ไม่สามารถประสบความสำเร็จในโลกการทำงานได้

วิธีรับมือ

ถ้าต้องอยู่กับคนประเภทนี้ ขอให้พยายามแบ่งหน้าที่ให้ชัดเจน ต่างคนต่างรับผิดชอบ ถ้าฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งยืดหยุ่นให้กันไม่ได้

แถมยังคอยจิกกัดเราอีก ก็ต้องทำงานกันอย่างตรงไปตรงมา ว่ากันไปตามเนื้อผ้า ขณะเดียวกันก็พยายามแสดงให้เขาเห็นว่า

ในโลกนี้ “การรับ” ไม่สำคัญเท่ากับ “การให้” ผลประโยชน์อะไรก็ไม่สำคัญเท่ากับความสบายใจ ที่ได้ทำในสิ่งที่ถูกต้อง

3. พิสูจน์ว่าคุณก็ทำได้

คนบางประเภทชอบคิดว่าคนอื่นทำได้ไม่ดีเท่าเรา ไม่ว่าเรื่องอะไรก็ขอเสนอตัวเหมาทำไว้ก่อน

ด้วยข้ออ้างว่า “เพื่อภาพรวมของงาน” ร้ายกว่านั้นบางรายยังอาจมีลูกชิ่งถึงเพื่อนๆ ว่า

“ที่ฉันต้องทำอย่างนี้ก็เพราะจนใจต่างหาก ดูๆ ไปคงไม่มีใครถนัดเรื่องนี้มากกว่าฉันอีกแล้ว”

สรุปว่า คนประเภทนี้นอกจากตัวเองแล้ว เขาจะมองว่าคนอื่นแย่หมด ไม่มีใครดีหรือเจ๋งกว่าตัวเอง

วิธีรับมือ

ดูเผินๆ เหมือนจะสบายถ้าได้เจอเพื่อนร่วมงานที่ชอบเหมางานไปทำหมด แต่ในไม่ช้าจะเป็นคุณเองที่เสียเครดิต

เพราะเจ้านายไม่มีโอกาสรู้ว่าคุณถูกแย่งงาน ถูกบดบังพื้นที่แสดงความสามารถจนมิดไปแบบเนียนๆ

ว่ากันตามตรง คุณคงไปเปลี่ยนแปลงคนประเภทนี้ไม่ได้ เพราะพวกเขามีความมั่นใจเกินร้อย ไม่ฟังใคร

ดังนั้น ต้องเป็นตัวคุณเองที่ต้องหัด “ใจกล้า”ขึ้นมาบ้าง ฮึดสู้ทวงพื้นที่ของคุณคืนมาให้ได้

อย่างน้อยก็ในส่วนความรับผิดชอบของคุณ จากนั้นก็โชว์ให้นายเห็นไปเลยว่า เรารักงาน เราเต็มที่

และทำได้ดีมากแค่ไหน สุดท้ายแล้วหากยังหาวิธี “รับมือ” ที่เหมาะสมไม่ได้ ก็คงต้องยอมรับ

และเข้าใจในสิ่งที่เขาเป็น เพราะมิฉะนั้นแล้ว คุณเองนั่นแหละที่จะเป็นฝ่ายทุกข์ และไม่มีความสุขกับการทำงาน

ที่มา : g o o d l i f e u p d a t e